วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเลือกหลอดไฟและประเภทโคมตกแต่งในบ้าน

การเลือกหลอดไฟและโคมแต่งในบ้าน

การเลือกหลอดไฟและประเภทโคมตกแต่งในบ้าน   
  
แสงไฟที่ใช้ในบ้านแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
แสงสว่างทั่วไป  (Background Lighting)
          เป็นการใช้แสงทดแทนแสงธรรมชาติโดยให้แหล่งกำเนิดจากที่สูงได้แก่ไฟที่ติดบนเพดานผนังหรือโคมไฟห้อยจากเพดาน
แสงเพื่อทำงาน (Task Light)
          เน้นระดับแสงที่สว่างเป็นพิเศษ และควรให้แสงสว่างอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ทำให้เกิดเงามืดบนพื้นที่ทำงาน
แสงสำหรับเน้น (Accent Light)
          สำหรับการเน้นแสงเงาเพื่อสร้างมิติให้งานตกแต่ง แสงประเภทนี้เกิดจาก ดวงไฟสปอตไลท์ไฟส่องรูปภาพ(Picture Light) ไฟที่ซ่อนอยู่ในช่องว่างของผนัง รวมไปถึงโคมไฟตกแต่งต่างๆเมื่อรู้จักลักษณะแสงไฟที่ใช้ภายในบ้านแล้ว ต่อมาควรรู้จักประเภทขอหลอดไฟซึ่งให้แสงที่มีลักษณะการใช้งานและให้ผลกับความรู้สึกต่างกันไป
          ประเภทของหลอดไฟก็สำคัญไม่แพ้กัน หลอดไฟที่ใช้กันในบ้านมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ
          หลอดไส้ทังสเตน (tungsten) จะให้แสงที่อบอุ่น ออกโทนสีเหลือง และเหมาะสำหรับการใช้ในงานตกแต่งเพื่อสร้างบรรยากาศและแสงเงาที่สวยงามเหมือนแสงธรรมชาติ และสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์หรี่ไฟ( Dimmer ) แต่มีข้อเสียที่อายุการใช้งานสั้น
          ฮาโลเจน (Halogen) หลอดไฟชนิดนี้จะให้แสงที่ดูขาวและสว่างกว่าทังสเตน เพราะภายในหลอดไฟจะใส่ก๊าซฮาโลเจน ซึ่งช่วยให้แสงแสดงรายละเอียดของสีสัน ที่ให้ความรู้สึกสดใสและสว่างมาก เหมาะจะใช้กับโคมไฟสปอตไลท์ เพื่อเน้นจุดสำคัญ แต่มีปัญหาเรื่องความร้อนสูงมาก แต่ก็สามารถใช้ชุดหรี่ไฟติดเพื่อปรับปริมาณแสงและความร้อนได้ตามต้องการ
          ฟลูออเรสเซ้นต์ (Fluorescent) แสงไฟชนิดนี้ได้รับความนิยมมากเพราะราคาถูกและประหยัดพลังงานแต่แสงมีผลต่อโทนสีของห้องที่เพี้ยนจากสีจริงไปทางสีฟ้า แต่ในปัจจุบันมีการใช้ชนิดของแก้วสีเพื่อปรับแสงสีและปรับให้แสงไฟดูนุ่มนวลมีโทนขาว และเหลือง เพื่อให้แสงดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
          สรุปลักษณะของแสงและความเหมาะสมในการใช้งาน ของหลอดประเภทต่างๆชนิดของหลอดไฟ
          โทนสีของหลอดหลอดไส้ โทนอุ่น เช่น ส้ม แดงสดใส และขาวอมสีฟ้า เหมาะกับห้องที่ต้องการสร้างบรรยากาศอบอุ่นโรแมนติก อย่างห้องนอน ห้องรับประทานอาหาร
          ฟลูออเรสเซ็นต์ โทนสีขาว ส่วนใหญ่แสงจะอมฟ้า และเขียว ให้แสงที่สว่างมาก สีห้องไม่เพี้ยนตามแสงสีและประหยัดไฟเป็นพิเศษจึงเหมาะกับพื้นที่ทำงาน
          ฮาโลเจน โทนเหลืองอบอุ่น ให้แสงสว่างเน้นเฉพาะจุดได้ดี เหมาะกับ ส่องเน้นงานศิลปะ ของตกแต่งบนผนังหรือในตู้โชว์
สุดท้ายลองมาดูชนิดของโคมไฟที่จะสร้างให้เกิดบรรยากาศอย่างที่ต้องการ
รูปแบบโคมที่ให้บรรยากาศแสงต่างกันไป
ไฟเพดาน ดาวน์ไลท์
          เป็นโคมไฟที่ใช้ง่ายและนิยมมากที่สุดเพราะให้แสงสว่างได้ทั่วถึงทั้งห้อง  แต่อย่างไรก็ตามการใช้แสงชนิดนี้เพียงอย่างเดียว ถึงห้องจะดูสว่างก็จริงแต่ขาดมิติ ควรมีการเพิ่มแสงไฟ เน้นเฉพาะจุดสปอตไลท์และติดตั้งชุดหรี่ไฟ เพื่อปรับความสว่างเฉพาะจุดได้ตามต้องการ

โคมไฟระย้า
          รูปแบบของโคมไฟห้อยเพดานนั้น จะทำให้แสงกระจายลงมาเท่ากันในทุกทิศทางเฉพาะพื้นที่ใช้งานเหมาะกับการเน้นพื้นที่เฉพาะ อย่างโต๊ะรับประทานอาหาร  ชุดรับแขก  โดยสามารถควบคุมทิศทางของแสงได้ด้วยลักษณะโคม ที่ปล่อยให้แสงส่องลงล่าง หรือบนเพดาน หรือความสูงต่ำของโคมก็มีผลกับความสว่างของการใช้งานได้ รวมทั้งสีของโคมก็มีผลต่อแสงสว่างที่ออกมาดังนั้นต้องดูให้เหมาะสม
ไฟสปอตไลท์
          มีลักษณะแสงที่ส่องตรงเฉพาะจุด และก้านโคมสามารถปรับตำแหน่งได้เพื่อส่องให้ตรงกับรูปภาพต้นไม้ผนังที่หรือสิ่งของที่ต้องการเน้นให้ดูเด่น สามารถติดได้ทั้งบนเพดาน ผนัง และพื้น

ไฟผนัง ( Wall Light)
          เป็นไฟที่ให้แสงสว่างเน้นบนผนังเพื่อกระจายออกด้านหน้า โดยแสงออกเพดานและพื้นด้วยมักจะอยู่ในรูปของโป๊ะที่ยื่นออกมาจากผนัง จึงเหมาะ สำหรับหน้าโต๊ะแต่งตัว เพราะจะให้แสงสว่างโดยไม่เกิดเงาบนใบหน้า
          โคมไฟตั้งโต๊ะ (Table Lamps) และโคมไฟตั้งพื้น (Floor Lamps)
          โคมไฟตั้งโต๊ะจะให้แสงที่นุ่มนวล และกระจายแสงในมุมแคบ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบของโคมเหมาะกับการสร้างบรรยากาศในมุมที่มืดของบ้าน หรือมุมที่ต้องการความสว่างเฉพาะจุดเช่นการอ่านหนังหัวเตียงหรือมุมนั่งเล่น ซึ่งตรงนี้อยู่ที่ความพอใจเรื่องดีไซน์เข้ากับบ้านมากกว่าแสงสว่างในการใช้งาน
          โคมไฟโต๊ะทำงาน (Desk Lamps)
          จุดประสงค์ของมันก็คือการให้แสงสว่าง ตรงไปยังบริเวณที่ต้องการโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงออกแบบให้สามารถปรับองศาได้หลากหลายเพื่อไม่ให้เกิดเงามืดของมือบังแสงขณะอ่านหรือเขียนหนังสือ
           เมื่อรู้จักแสงไฟจากหลิดและโคมประเภทต่างๆแล้วลองนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับห้องของคุณดูล่ะกันหวังว่าคงจะช่วยให้บรรยากาศในห้องดูดีขึ้นบ้าง

ที่มาจาก : homepro.co.th

ไม่มีความคิดเห็น: